ข้อสังเกตุ
  • Please check if the attachment directory is writeable.

จิตวิญญาณนักหนังสือพิมพ์ของกุหลาบ สายประดิษฐ์


โดย สมบูรณ์ วรพงษ์

       ปาฐกถาพิเศษ "จิตวิญญาณนักหนังสือพิมพ์ของกุหลาบ สายประดิษฐ์"
ณ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  อ.เมือง  จ.มหาสารคาม 
 วันที่  ๑๙  พฤศจิกายน  ๒๕๔๘

    สำหรับ การกล่าวในวันจัดงานฉลองครบรอบชาตกาล ๑๐๐ ปี กุหลาบ สายประดิษฐ์  ซึ่งได้รับการยกย่องจากองค์การศึกษา  วิทยา-ศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ในฐานะนักคิด นักเขียน  นักหนังสือพิมพ์ กระผมได้เลือกหัวข้อชื่อ "จิตวิญญาณนักหนังสือพิมพ์ ของกุหลาบ สายประดิษฐ์"  มาเป็นการกล่าวนำก่อนที่ท่านจะได้ฟังบรรดาท่านผู้ทรงคุณวุฒิมาพูดถึงในแง่ ความสัมพันธ์ และวรรณศิลป์  ในลำดับต่อไป ความจริงแล้วคำว่า จิตวิญญาณนักหนังสือพิมพ์ เป็นลักษณะนามธรรมมากกว่าเป็นรูปธรรม เป็นไปในทางจริยธรรม หรือจรรยา-บรรณ  หรืออะไรก็แล้วแต่ตามหลักศาสนาสากลมากกว่า  มนุษย์เรา  แม้จะมีกฎหมายข้อบังคับปกป้องเสรีภาพของหนังสือพิมพ์ ซึ่งเป็นสิทธิ์ขั้นพื้นฐานของประชาชนในระบอบประชาธิปไตย  แต่ถ้าไม่สามารถบังคับจิตสำนึกของตนเองได้แล้ว  ก็เท่ากับเราได้สูญเสียความเป็นอาชีวะปฏิญาณ  ซึ่งถือว่าเป็นเสาหลักสำคัญของวิชาชีพหนังสือพิมพ์

    คุณ กุหลาบ สายประดิษฐ์ และมิตรสหายของท่านเป็นบุคคลที่มิได้ผ่านการศึกษาด้านนิเทศศาสตร์ หรือวารสารศาสตร์มาจากสถาบันอุดมศึกษาใดมาก่อน  ดังเช่นในยุคปัจจุบันที่มีการสอนในทุกมหาวิทยาลัย  ตั้งแต่ระดับปริญญาตรีถึงปริญญาเอก  แต่ในสมัยนั้น จิตวิญญาณนักหนังสือพิมพ์ได้เกิดขึ้นแล้ว  ตั้งแต่ครั้งที่ท่านเรียนที่โรงเรียนมัธยมวัดเทพศิรินทร์ โรงเรียนมัธยมวัดเทพศิรินทร์ในสมัยนั้นเป็นเสมือนหนึ่งสำนักตักสิลาของนัก ประพันธ์เมื่อ ๘๐-๙๐ ปีที่แล้ว  การออกหนังสือพิมพ์ในชั้นเรียนนั้น  คือการรับรู้ต่องานประพันธ์  รับรู้ว่างานนั้นจะออกสู่สาธารณะด้วยความรับผิดชอบประการใด   นั่นเป็นจุดเริ่มต้นของนักหนังสือพิมพ์  ที่มาจากจิตวิญญาณอันแท้จริง  คุณกุหลาบ สายประดิษฐ์ ก็เช่นเดียวกับหลายๆ ท่านซึ่งเริ่มต้นจากการเป็นนักเขียน  เป็นนักหนังสือพิมพ์  ในห้องเรียน  เป็นยุคในยุคสมัยที่กระทรวงศึกษาธิการกำลังรณรงค์ในเรื่องหนังสือพิมพ์  และหรือแม็กกาซีนในสมัยนั้น ท่านเริ่มต้นจากการคบหาสมาคมผู้ร่วมอุดมการณ์เดียวกัน  ตั้งแต่ยังนุ่งกางเกงขาสั้น  เห็นได้ว่าสิ่งเหล่านี้จะเกิดจากอะไรได้ถ้าไม่ใช่จิตสำนึกแห่งความเป็น เพื่อนมนุษย์และความรักมนุษย์  จากความมีศรัทธาต่อความเป็นธรรมของสังคม  อันเป็นจิตสำนึกที่เกิดขึ้นพร้อมกับความเป็นนักหนังสือพิมพ์ของท่าน  

        เมื่อ สะสมความรักมนุษย์จนตกผลึกแล้ว  จึงเกิดเป็นกลุ่มสุภาพบุรุษขึ้นมา  นั่นเป็นเสมือนกลุ่มที่อยากแสดงออกอย่างที่คิดผ่านงานเขียนของตน  และไม่มีทางไหนที่จะเผยแพร่ออกไปได้  นอกจากโรงพิมพ์  สำนักพิมพ์  หรือจัดทำหนังสือพิมพ์เอง  ซึ่งในยุคนั้นเอง  คุณกุหลาบ สายประดิษฐ์ และเพื่อนๆ กลุ่มสุภาพบุรุษ จึงเป็นนักประพันธ์และนักหนังสือพิมพ์พร้อมๆ กัน  ผลงานและความเป็นตัวตนของท่านก็ปรากฏออกมาอย่างดี  บรรลุความคิดและความเป็นนักหนังสือพิมพ์ที่ดีได้ ไม่ว่าจะเข้าทำงานในระยะแรกในสำนักงานหนังสือพิมพ์ (หรือนิตยสาร) ใด  และที่ก่อจิตวิญญาณอันแท้จริงของท่านก็คือหนังสือพิมพ์ "ประชาชาติ" ซึ่งเป็นยุคที่ต้องแข่งขันกับหนังสือพิมพ์อีกเล่มหนึ่งคือ ประมวญวัน ซึ่งเล่มหลังนี้มี น.ม.ส. หรือกรมหมื่นพิทยาลงกรณ เป็นหัวเรือใหญ่  ส่วนหนังสือพิมพ์ประชาชาติของกุหลาบ สายประดิษฐ์นั้นมี ม.จ.วรรณไวทยากร วรวรรณ หรือเจ้าของนามปากกา "วรรณไว" ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานพระอิสริยยศเป็นกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ เจ้านายทั้งสองพระองค์นี้ เป็นผู้วางบรรทัดฐานและจิตวิญญาณของนักหนังสือพิมพ์ไทย  ผมอยากจะพูดเช่นนั้น  เพราะข้อความต่างๆ ที่ท่านเขียนไว้นั้น  เป็นเสมือนหนึ่งการสร้างจิตวิญญาณให้ผู้ประกอบวิชาชีพนี้เชื่อถือตลอดมา  แต่น่าเสียดายที่ทั้งสองพระองค์ไม่ใช่นักธุรกิจ  ไม่ใช่นักบริหาร  แต่เป็นแค่นักคิด  นักอุดมการณ์  เพราะฉะนั้น หนังสือพิมพ์ทั้งสองฉบับจึงได้สลายตัวไปในเวลาอันไล่เลี่ยกัน  

    คุณ กุหลาบได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับงานหนังสือพิมพ์ มาสร้างหนังสือพิมพ์ให้เป็นแบบอย่างที่ดีต่อนักหนังสือพิมพ์รุ่นต่อๆ มา ในฐานะ บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ประชาชาติ หนังสือพิมพ์เล่มนี้มีคำขวัญว่า "บำเพ็ญกรณี ไมตรีจิต วิทยาคม อุดมสันติสุข" ทั้ง ๔ คำนี้เป็นเสมือน หนึ่งจิตวิญญาณของนักหนังสือพิมพ์อาชีพ มากกว่าหนังสือพิมพ์ธุรกิจ  ซึ่งหากเปรียบเทียบมาจนถึงปัจจุบันนี้  จะพบว่าจิตวิญญาณของหนังสือพิมพ์อาชีพมีน้อยมาก  เพราะหนังสือพิมพ์ยุคใหม่ก้าวไปสู่ธุรกิจจนหมด รวมทั้งมีอัตตาของตนเองมากขึ้น แม้แต่ในมหาวิทยาลัยในปัจจุบัน ในความรู้สึกของกระผม ก็สอนให้นิสิตนักศึกษารับรู้ถึงจิตวิญญาณของนักหนังสือพิมพ์ค่อนข้างน้อย มักมุ่งเน้นไปที่วิชาการของแต่ละแขนง ตามแนวความคิดโลกตะวันตกเป็นเกณฑ์ เพื่อนำไปสู่การรับปริญญาบัตรเท่านั้น

    สำหรับคุณกุหลาบ สายประดิษฐ์นั้น  มีคุณสมบัติของนักหนังสือพิมพ์อย่างชอบธรรม  ๓ ประการ ด้วยกันคือ

        ประการที่หนึ่ง  เป็นบรรณาธิการที่เป็นบรรณาธิการ  

        ทำไม กระผมจึงกล่าวเช่นนั้น  เพราะว่าบรรณาธิการต้องรับผิดชอบด้านกฎหมาย มโนด้านกฎหมาย มโนธรรม และทุกสิ่งทุกอย่าง ที่เป็นตัวบรรณาธิการ รวมทั้งการเขียนบทบรรณาธิการด้วย ระดับนักศึกษานิเทศศาสตร์และสื่อสารมวลชน ควรจะจำไว้ว่าบทบรรณาธิการคือทิศทาง หรือเข็มทิศชี้พื้นฐานของหนังสือพิมพ์นั้นๆ เป็นแนวจุดหมายหลัก บทบรรณาธิการสมัยคุณกุหลาบ สายประดิษฐ์ ส่วนใหญ่ท่านเขียนเอง หรือมอบหมายให้คนที่รับรู้จุดหมายในหนังสือพิมพ์ ฉบับนั้นๆ ในองค์กรนั้นๆ เป็นผู้เขียน           ประการที่สอง  เป็นคนสร้างบุคลากรในสำนักงาน   

        จะ เห็นได้ว่า นักข่าว นักเขียน เกิดขึ้นที่ประชาชาติเป็นอันดับแรก  กระผมจะยกตัวอย่างสัก ๒-๓ ท่าน ในเวลาต่อมา เช่น คุณยศ วัชรเสถียร คุณจรัญ วุธาฑิตย์ เป็นต้น และอีกหลายท่าน ซึ่งเนื้อแท้ของความเป็นนักหนังสือพิมพ์ ได้กลายเป็นเชื้อสืบต่อเนื่องต่อมาอีกหลายๆ ท่าน การสร้างบุคลากรขึ้นมารองรับองค์กรต่างๆ นี้ นับว่ามีความจำเป็นยิ่ง  การสื่อความทางด้านความคิด  ทางด้านจริยวัตร  ของผู้นำของหนังสือนั้น สามารถทำให้หนังสือพิมพ์ในยุคสมัยที่ยังไม่มีทั้งวิทยุและโทรทัศน์เป็นผู้ แข่งขัน  สามารถดำรงอยู่ได้ด้วยความเป็นอิสระ  และมีบทบาทเป็นผู้ปกป้องเสรีภาพของประชาชนได้

        ประการที่สาม  เป็นทั้งนักประพันธ์และนักหนังสือพิมพ์

        เป็น สิ่งที่จะเรียกว่าความได้เปรียบก็อาจจะเรียกได้  คือ กุหลาบ  สายประดิษฐ์ ได้เขียนหนังสือมาก่อน เรียกว่าเป็นนักประพันธ์และนักหนังสือพิมพ์ไปพร้อมกัน  จึงเป็นเสมือนการสร้างรูปแบบให้ผู้ก้าวเข้ามาในวงการหนังสือพิมพ์ได้รับรู้ ว่านี่คือจิตวิญญาณ  เพราะท่านได้แสดงออกทั้งงานเขียนและจริยวัตรของท่านในการประกอบวิชาชีพนี้ ด้วยความสะอาดหมดจด

        กระผมยัง ได้เฝ้ามองในงานเขียนทุกประเภทของท่าน จนถึงแม้ที่สุดจริยวัตรของท่านผู้นี้ กระผมขอสารภาพตามตรงว่า กระผมไม่รู้จักท่านเป็นการส่วนตัว  แต่อ่านงานของท่านพร้อมกับภาพประทับใจ  และได้นำมาเป็นตัวอย่างในการปฏิบัติตนจนครบ ๕๐ ปีในวันนี้  แม้จะเป็นส่วนน้อยนิดที่กระผมจะเดินตามท่านได้  แต่นั่นก็คือแสงสว่างที่จะอยู่นำหน้าในการประกอบวิชาชีพของกระผม

        แต่ เป็นที่น่าเสียดายว่า  สิ่งที่กระผมกล่าวมานี้ไม่ปรากฏในตำราเรียนหรือในการสอนเรื่องการหนังสือ พิมพ์ ในคณะวารสาร-ศาสตร์หรือนิเทศศาสตร์ในมหาวิทยาลัยต่างๆ ไม่ได้กล่าวถึงคุณกุหลาบในฐานะผู้บุกเบิกงานหนังสือพิมพ์  ทั้งรายวันและรายคาบมาแต่อดีตมากนัก แต่มีกล่าวถึงคุณหลุยส์ คีรีวัต พระยาศราภัยพิพัฒน์  คุณสงวน ตุลารักษ์ ซึ่งหมายถึงนายทุนหนังสือพิมพ์ทั้งนั้น อาจกล่าวได้ว่า พวกเขาได้ละเลยการกล่าวถึงผู้คิดผู้บุกเบิกในวิชาชีพหนังสือพิมพ์ ไปอย่างน่าเสียดาย

        ทวีป วรดิลก ได้กล่าวถึงงานของกุหลาบ สายประดิษฐ์ ในครั้งหนึ่งว่า  หนังสือพิมพ์ไทยเติบโตขึ้นมาพร้อมกับการปฏิวัติประชาธิปไตย  และยังกล่าวด้วยว่า คุณกุหลาบ เป็นนักหนังสือพิมพ์คนแรกที่คัดค้านรัฐบาลพระยามโนปกรณ์นิติธาดา ในปี พ.ศ. ๒๔๗๖ และพระยามโน-ปกรณ์นิติธาดา ก็ได้ให้พระยาราชรังสรรค์ไปเรียกคุณกุหลาบไปพบและต่อว่าอย่างรุนแรง  หลังจากนั้นก็ได้ปิดหนังสือพิมพ์ประชาชาติในวันที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๖  และรุ่งขึ้นวันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๖ พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา  หนึ่งในผู้นำการปฏิวัติ ๒๔๗๕ เช่นเดียวกัน ได้ยึดอำนาจจากพระยามโนปกรณ์นิติธาดา ดังปรากฏว่า งานสัมภาษณ์พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนาของคุณกุหลาบ  ท่านได้ยกย่องพระยาพหลฯ ว่าเป็นนักประชาธิปไตย  ที่หวังจะนำประชา-ธิปไตยมาสู่บ้านเมืองเราอย่างแท้จริง

        กล่าว อย่างย่นย่อเฉพาะบทบาทการเป็นนักหนังสือพิมพ์ของท่านผู้นี้ ดูจะมีอย่างมากมาย รวมทั้งการปกป้องสิทธิเสรีภาพของนักหนังสือพิมพ์  ในนามของสมาคมหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ท่านได้ตอบโต้และคัดค้านพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๘๔ ซึ่งลิดรอนเสรีภาพนักหนังสือพิมพ์   

        ท่าน ถูกจับกุมคุมขังครั้งแรก  ในข้อหากบฏภายในราชอาณาจักร ในปี พ.ศ. ๒๔๘๕ ถูกคุมขังอยู่ ๘๔ วัน นี่คือการคุกคามสิทธิเสรีภาพของท่านครั้งแรก  หลังจากนั้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๕  ได้มีข่าวหนังสือพิมพ์ได้กล่าวถึงความแห้งแล้งและความยากจนในภาคอีสาน หนังสือพิมพ์ได้เรียกร้องให้รัฐบาลตระหนักถึงปัญหาของภาคอีสานทั้งภาค มีการพาดหัวข่าวต่อเนื่องกันหลายฉบับ  มีการเรียกร้องการบริจาคเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม  เพื่อนำมาช่วยเหลือพี่น้องชาว าคอีสาน  ในฐานะนักหนังสือพิมพ์คุณกุหลาบได้รวบรวมทั้งนักเขียนและนักหนังสือพิมพ์ เพื่อเดินทางมาแจกเสื้อผ้าแก่คนยากจน  แต่ทางรัฐบาลกลับตอบแทนด้วยการจับกุมคุมขังท่านในข้อหากบฏอีกครั้งหนึ่ง  ครั้งนี้เรียกชื่อว่า กบฏสันติภาพ  และโยงออกไปเกี่ยวเนื่องกับการเรียกร้องสันติภาพของโลก  ซึ่งเน้นที่การใช้สันติวิธี  เพราะไม่ต้องการให้เกิดภาวะรุนแรงในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง ในที่สุดคุณกุหลาบ สายประดิษฐ์ ก็ถูกคุมขังอยู่เกือบ ๕ ปี   ท้ายสุดได้รับการปล่อยตัวออกมาในปี พ.ศ. ๒๕๐๐   

        ต่อ มาท่านได้นำนักหนังสือพิมพ์และนักเขียนเดินทางไปสาธารณรัฐประชาชนจีน  เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนทั้งสองประเทศ  เพื่อแสดงว่า  แม้จะแตกต่างในทิศทางการเมืองก็ตาม  แต่เราสามารถที่จะอยู่ร่วมกันได้ แต่ในระหว่างนั้นเอง จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์  ได้ปฏิวัติรัฐประหารอีกครั้งหนึ่ง  เมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๑ มีการจับกุมนักหนังสือพิมพ์ นักเขียน กรรมกร ชาวไร่ ชาวนา  ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  รวมแม้กระทั่งคนจีนที่ขายกาแฟ  เมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๑  คุณกุหลาบจึงตัดสินใจไม่กลับมาตุภูมิ  และขอลี้ภัยอยู่ที่สาธารณรัฐประชาชนจีนตราบจนวาระสุดท้ายของชีวิต ท่าน  

        นี่ คือความทรงจำ ไม่เฉพาะผู้มีอาชีพนักหนังสือพิมพ์เท่านั้น    หากเป็นความทรงจำของประชาชนทั้งชาติ เพราะปัจจุบันเรามีความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศทั้งสอง คือ ประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีน  คือครบ ๓๐ ปีในปีนี้  ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า  นี่คือผลงานจากการที่คุณกุหลาบเสี่ยงชีวิตครั้งแรกเพื่อให้เกิดสันติสุขใน ภูมิภาคนี้          ถ้าจะยกคำพูดของท่านมาเพื่อนิสิตนักศึกษาที่ศึกษาทางด้านสื่อสาร มวลชน กระผมใคร่จะยกวลีหนึ่ง มีความว่า "งานหนังสือพิมพ์อาจหาทำได้  แต่นักหนังสือพิมพ์ที่แท้จริงอาจหาได้ไม่ง่ายนัก"      นี่เป็นคำที่จับใจมาก  เพราะการสร้างจิตสำนึกเป็นสิ่งที่สำคัญ  ด้วยเหตุที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้ได้เปิดแผนกสื่อสารมวลชนขึ้น กระผมจึงขอฝากคำอันนี้ไว้กับท่านทั้งหลาย และในปี พ.ศ. ๒๔๙๔ ท่านได้เขียนบทความบทหนึ่ง ซึ่งกระผมอยากจะขอยกมา ณ ที่นี้ ท่านเขียนไว้ว่า

    "รัฐบาล ในระบอบประชาธิปไตยย่อมไม่ปรารถนาจะให้หนังสือ-พิมพ์บำเพ็ญตนเป็นเครื่องมือ ของรัฐบาลเลย  เพราะรัฐบาลในระบอบเช่นนี้มิใช่รัฐบาลถาวร บุคคลในคณะรัฐบาลย่อมมีการเปลี่ยนตัวกันอยู่เสมอ  เมื่อออกมาอยู่นอกวงรัฐบาลแล้ว  บุคคลเหล่านั้นก็จะมาแสดงความเห็นติชมรัฐบาลใหม่ในฐานะที่เป็นราษฎรคนหนึ่ง เหมือนกัน"

        อันนี้แหละจิต วิญญาณของคุณกุหลาบ สายประดิษฐ์ กระผมต้องขอขอบคุณบรรดาท่านทั้งหลาย  รวมทั้งมหาวิทยาลัยมหาสารคาม  ท่านอธิการบดี  ท่านรองอธิการบดี  คณบดี  ที่ได้จัดงานในวันนี้  เพื่อได้ระลึกถึงบุคคลผู้หนึ่งซึ่งได้สละแล้วซึ่งชีวิต เพื่อต่อสู้ให้เกิดสันติสุข  เกิดความเป็นธรรมในสังคม เกิดความรู้สึกความยุติธรรม และเห็นใจผู้ยากจน  นั่นคือ  กุหลาบ สายประดิษฐ์  หรือเจ้าของนามปากกา "ศรีบูรพา" ต่อจากนี้ท่านคงได้ฟังการอภิปรายของท่านผู้รู้  และได้ฟังกวีทั้งหลาย  เรียกว่าทุกกวีที่มีต่อท่าน  กระผมขอจบคำกล่าวแต่เพียงเท่านี้  ขอบคุณครับ(ปรบมือ)

แก้ไขล่าสุด (วันอังคารที่ 08 มิถุนายน 2010 เวลา 11:15 น.)